นอร์เทิร์นวิจัย ครั้งที่ 7

ห้องนำเสนอผลงาน

ผู้นำเสนอผลงานฯ เสนอผลงานของตนเอง วัน/เวลา ที่แจ้งไว้ในสูจิบัตร โดยวิธีการนำเสนอผ่านระบบ Google Meeting ตามเวลาที่กำหนด

หรือโทร: ‪(US) +1 662-771-6432‬ PIN: ‪485 287 903‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 650-667-2907‬ PIN: ‪305 056 096‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 314-474-3102‬ PIN: ‪359 195 963‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 575-394-8574‬ PIN: ‪178 990 120‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 608-909-0204‬ PIN: ‪994 355 229‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 980-292-2592‬ PIN: ‪209 740 287‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 636-498-4617‬ PIN: ‪919 876 767‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 920-515-0033‬ PIN: ‪419 560 241‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 732-765-2385‬ PIN: ‪392 351 019‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 505-738-2329‬ PIN: ‪616 597 054‬#

หรือโทร: ‪(US) +1 518-797-6189‬ PIN: ‪250 334 179‬#

“นวัตกรรมจากสมุนไพรไทย”

การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรค  2021
นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

นวัตกรรมสมุนไพรทิงเจอร์เสลดพังพอน
อาจารย์ สุรสักดิ์ สิงห์ชัย
หัวหน้ากลุ่มงานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
โรงพยาบาลพรหมพิราม

นวัตกรรมการผลิตสบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ดร.รุ่งตะวัน เมืองมูล
อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์
วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

นวัตกรรมการผลิตสบู่ลูกหม่อน
อาจารย์จตุพร แพงจักร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาแพทย์แผนไทย
วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

นวัตกรรมการผลิตยาพอกเข่า
นางสาวพิจิตรา ยืนยั่ง
แพทย์แผนไทยประจำคลินิกดาวเหนือ
วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

นวัตกรรมการผลิตชาดอกมะลิ
พท.กรองแก้ว หนูอิ่ม
แพทย์แผนไทยประจำคลินิกดาวเหนือ
วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2563 “นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ”
ลักษณะโครงการ เป็นการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
ระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือน ( มกราคม 2564 – พฤษภาคม 2564)

1. หลักการและเหตุผล

การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2563 “นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ” เป็นงานวิชาการที่ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยชุมชนตาก วิทยาลัยนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ภาคีเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ นับเป็นการส่งเสริม สนับสนุน นำผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ของนักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไปที่สนใจ รวมถึงผู้ซึ่งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจในระดับชาติได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยเปิดรับบทคัดย่อ (Abstracts) ของบทความวิชาการ (Review Articles) หรือบทความวิจัย (Research Articles) พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) และรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) จากหลากหลายศาสตร์สาขาวิชา อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน สังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติ รวมถึงการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนงาน ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป

ทั้งนี้ บทความที่ส่งเข้าร่วมการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2563 “นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ” และผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่ตรงตามสาขาวิชานั้นๆ และจะได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2563 และตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น (Journal of Northern College) พร้อมนำวารสารเข้าสู่การขอรับรองมาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย Thai Citation Index: TCI ต่อไป

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติ
2.2 เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ด้านวิชาการ และด้านการวิจัย
2.3 เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านกิจกรรม กับหน่วยงานต่างๆ
2.4 เพื่อนำผลงานวิจัยและความรู้ที่ได้จากการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมต่อไป
2.5 เพื่อเป็นเวทีในการ แสดงความสามารถของนักเรียน นักศึกษาในการแสดงความสามารถทางด้าน การดนตรี ด้านศิลปะ ด้านวิชาการ

3. การดำเนินงาน

3.1 กลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมโครงการ

                   3.1.1 ผู้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน

                             -นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีผลงานทางวิชาการ

                             -นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้วทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                             -คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่สนใจจากภาครัฐเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                   3.1.2 ผู้เข้าร่วมประชุมโดยไม่นำเสนอผลงาน ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ อาจารย์ผู้สอน นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป

          3.2 รูปแบบการจัดประชุม

          การจัดงานในครั้งนี้จัดในรูปแบบออนไลน์ (Online) นำเสนอผลงานโดยไลฟ์สดผ่าน Google Meet

                   3.2.1 การนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบบรรยาย  (Oral Presentation) และการนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

                   3.2.2 การจัดทำรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings) พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล

          3.3 วัน เวลา และสถานที่จัดประชุม

                    วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 ณ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น  จังหวัดตาก

          3.4  ผู้รับผิดชอบโครงการ

                   ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

          3.5  ระยะเวลาการดำเนินการและกิจกรรม

30  มกราคม     2564   เปิดรับลงทะเบียน และ เปิดรับบทความฉบับเต็ม

31  มีนาคม      2564   วันสุดท้ายของการรับบทความฉบับเต็ม

12  เมษายน     2564   แจ้งผลการตรวจพิจารณาบทความฉบับเต็ม

25  เมษายน     2564   วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียน*

10  พฤษภาคม  2564   วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์หลังการปรับปรุงแก้ไข

29  พฤษภาคม   2564   วันจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 7

          *วิทยาลัยขอสงวนสิทธิ์งดรับลงทะเบียนหน้างาน

3.6 ลักษณะผลงานและการแบ่งกลุ่มงานที่นำเสนอ

                    การนำเสนอผลงานวิจัยมี 2 ลักษณะคือ

-การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) นำเสนอด้วย Power Point โดยใช้เวลาในการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที

-การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนด และนำเสนอโดยใช้เวลาในการนำเสนอ เรื่องละไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที

โดยที่ผลงานวิจัยดังกล่าวจะต้อง

                   1. เป็นผลงานที่ยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อน

                  2. มีหัวข้อเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้

                             1) สังคมศาสตร์ ประกอบด้วย สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยา สังคม  ปัญหาสังคม สังคมศาสตร์ พัฒนาสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                             2) มนุษยศาสตร์ ประกอบด้วย ภาษา วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

                             3) บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วย บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                             4) วิทยาศาสตร์สุขภาพ  ประกอบด้วย  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

                             5) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรมศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. ประเภทของผู้นำเสนอผลงานวิจัย
1)  ผลงานวิจัย บทความวิชาการ ของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ที่สนใจ
2) ผลงานวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นความอิสระระดับอุดมศึกษาของนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ที่ไม่เคยนำเสนอในการประชุมเสนอผลงานวิจัยที่ใดมาก่อน

3.7 ประเภทของการนำเสนอผลงาน

                    1) นำเสนอในรูปแบบการบรรยาย (Oral Presentation) ด้วย Power Point โดยใช้เวลานำเสนอเรื่องละไม่เกิน 15 นาที ซักถาม 5 นาที

                   2) นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยจัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบที่กำหนด และผู้นำเสนอประจำที่โปสเตอร์ในเวลาที่กำหนดเพื่อนำเสนอผลงาน

          3.8 การเตรียมบทความฉบับเต็ม (Full Paper)

                   ผู้นำเสนอผลงานจัดทำบทความฉบับเต็ม  ที่มีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษขนาด A4  ทั้งนี้รวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง แบบตัวอักษรใช้ TH SarabunPSK ขนาด 16 ทั้งบทความ

                    ส่วนประกอบของบทความประกอบด้วย

                   1) ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                   2) ชื่อ-สกุล ทุกท่าน และที่อยู่ คณะวิชา หน่วยงานที่สังกัด อีเมล์ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ

                   3) บทคัดย่อ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรสั้นตรงประเด็น และเป็นการสรุปผลงานอย่างรัดกุม ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัย ความยาวไม่เกิน 400 ตัวอักษร

                   4) คำสำคัญ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดสาระสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล ไม่ควรยาวมากเกินไป และไม่ควรเกิน 3-5 คำ

                   5) บทนำ (ความเป็นมา ความสำคัญ และมูลเหตุที่นำไปสู่การวิจัย)

                   6) วัตถุประสงค์ (มูลเหตุของการศึกษาวิจัย ซึ่งสอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ศึกษาวิจัย)

                   7) เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เป็นการอ้างอิงแนวคิด ทฤษฎี หรือบทความที่เกี่ยวข้อง หากเป็นงานวิจัยเฉพาะทางควรมีส่วนนี้ เพื่ออธิบายข้อมูลพื้นฐานให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้

                   8) วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการอธิบายวิธีการดำเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ควรเสนอรูปแบบและแสดงขั้นตอนอย่างกระชับและชัดเจน

                   9) สรุปผลการวิจัย ควรนำเสนอผลอย่างชัดเจน น่าสนใจ ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบ โดยลำดับตามหัวข้อที่ศึกษา

                   10) อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ อภิปรายสิ่งที่ได้จากการวิจัย การนำไปใช้ประโยชน์และข้อเสนอแนะต่างๆ

                   11) เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบนาม-ปี และหน้า (APA Style) ระบุแหล่งอ้างอิงเท่าที่ปรากฏในบทความ ผู้นำเสนอผลงานสามารถดูรายละเอียดรูปแบบการจัดทำบทความฉบับเต็ม  (Full Paper) ได้ที่ http://www.northern.ac.th/new_web/conference/

3.9 อัตราลงทะเบียน

ประเภทอัตราค่าลงทะเบียน
นิสิต นักศึกษา บุคคลทั่วไป (ภายนอกวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น) 2,000  บาท/เรื่อง
นิสิต นักศึกษา อาจารย์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น และสถาบันร่วมจัดงาน1,500  บาท/เรื่อง
        **หากนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์  (Poster Presentation) ทางผู้จัดงานจะดำเนินการจัดทำโปสเตอร์ให้
โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม จำนวน 800 บาท/เรื่อง

3.10 วิธีชำระค่าลงทะเบียน

                   โอนเงินเข้าบัญชี  ธนาคารกรุงไทย           สาขา  ตาก       ประเภทบัญชี  ออมทรัพย์

                   เลขที่บัญชี  603-0-54594-9                ชื่อบัญชี  กองทุนวิจัย  วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

                   **หากท่านชำระค่าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว  กรุณาส่งหลักฐานการชำระฯ มาที่  e-mail: [email protected]

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          1. ผลงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และการศึกษาอิสระของผู้นำเสนอผลงานได้รับการเผยแพร่

          2. เกิดแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

          3. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างผู้วิจัย

          4. นักศึกษาที่เข้าร่วมประชุมเสนอผลงานได้รับการพัฒนาทักษะในการนำเสนอผลงานวิจัยต่อที่ประชุมสัมมนา

          5. ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการสนับสนุนให้มีการพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารวิชาการอันเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ

5. การพิจารณาผลงาน

          1. พิจารณาการเลือกกลุ่มการนำเสนอผลงานและประเภทของการนำเสนอผลงาน

          2. พิจารณาผลงานโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและภายในสถาบัน อย่างน้อย 2 ท่าน และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะเป็น Double-blind peer review

          3. พิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยที่จะนำเสนอในการประชุมและที่จะรวบรวมเป็น Proceedings

          4. พิจารณามอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตรให้แก่ผู้ที่เสนอผลงานที่มีผลงานในระดับดีเด่น ดี และชมเชย  โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายในร่วมประเมินผลงานที่นำเสนอทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์